ReadyPlanet.com


การวินิจฉัยการบาดเจ็บที่ศีรษะ


   เนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นภาวะที่อันตราย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการประเมินอาการอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดความดันภายในกะโหลกสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของการพิการ และเสียชีวิตได้ โดยการตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้หลายประการ ดังนี้   ตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยการซักประวัติว่าผู้ป่วยมีอาการที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น ตามัว หูอื้อ ชาที่ผิวหนัง  กระทบกระเทือน มีการตรวจระดับความรู้สึกตัว ตรวจรูม่านตา ตรวจการเคลื่อนไหวแขนขา ตรวจสัญญาณชีพ ดูอาการที่แสดงว่ามีความดันในกะโหลกเพิ่ม หรือมีกระดูกหักร่วมด้วยหรือไม่   ตรวจด้วยเครื่อง CT SCAN เพื่อวินิจฉัยโรค และความผิดปกติของร่างกายด้วยการฉายรังสีเอกซเรย์ไปยังบริเวณสมองเพื่อดูอวัยวะภายในทำให้เห็นสภาพของหลอดเลือดในสมอง และทำการวินิจฉัยโรคหรือใช้ในการติดตามโรคที่เป็นอยู่ต่อไป โดยดูจากความรุนแรงของการบาดเจ็บ เช่น มีอาการหมดสติหลังได้รับบาดเจ็บ เบลอ ซึม เป็นต้น   การรักษาการบาดเจ็บที่ศีรษะ   ระยะฉุกเฉิน เป็นการประเมิน และดูแลร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน โดยมีการให้ออกซิเจนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ   ระยะทั่วไป เป็นการรักษาที่ต่อเนื่องจากระยะฉุกเฉิน เช่น การรักษาเพื่อป้องกันสมองบวม และคงความดันในกะโหลกศีรษะให้คงที่ เป็นต้น



ผู้ตั้งกระทู้ เชลซี (NewsHorribleThai-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-04-20 15:05:34


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Jirapa Accounting Office Company Limited, Bangkok, Thailand Copyright © 2010 All Rights Reserved.